คลิกอ่านหลักสูตรทางด้าน Network

บจ.จีเนียสย์ ดีเวลลอป
ez-admin training center

082-5674413, 095-8635165
contact@ez-admin.com

ตัวอย่างคอร์สอบรมด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้าน Network admin สำหรับในกลุ่มนี้จะประกอบด้วยคอร์ส

หลักสูตรพื้นฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยของระบบ (Basic Network & Security : NS01) เป็นหลักสูตรที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังไม่มีพื้นฐานมาก่อน ให้สามารถเข้าใจพื้นฐานที่สำคัญของการทำงานบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โดยอ้างอิง OSI Model และ TCP/IP Model ซึ่งเป็นทฤษฎีสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจ จากตัวอย่างการทำงานจริงเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญในระดับเริ่มต้นที่ผู้เรียนต้องนำไปใช้งานจริง รวมถึงการทำ LAB ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติอย่างรวดเร็ว เพื่อประยุกต์ใช้งานกับระบบหรืออุปกรณ์ยี่ห้อต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องท่องจำ

หลักสูตรนี้ ยังได้สอดแทรกเนื้อหาด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่าย (Network Security) และหลักการออกแบบการวางโครงสร้างที่ถูกต้องของระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่ครบถ้วน รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ สามารถออกแบบระบบที่มีความปลอดภัยและถูกต้องได้มาตรฐาน พร้อมนำไปต่อยอดการเรียนรู้ในขั้นสูงได้เป็นอย่างดี

รับสอนทั้งในและนอกสถานที่ในราคาพิเศษ สนใจสอบถาม 082-5674413, 086-4133928

 

หลักสูตรที่ออกแบบมาสำหรับผู้ต้องการวางระบบเครือข่ายในระดับองค์กร (ตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่) ได้ใช้เป็นแนวทางเพื่อให้ทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง จึงจะทำให้การวางระบบมีโครงสร้างที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการขยายเครือข่ายได้ง่าย

การเรียนส่วนใหญ่จะเน้นการทำ LAB อย่างเป็นขั้นตอนโดยใช้อุปกรณ์จริง และเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยม (CISCO) โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้แบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่รู้จักการออกแบบโครงสร้างของระบบที่ได้มาตรฐาน, การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการทำงาน, กำหนดค่าการคอนฟิกให้กับอุปกรณ์หลักของระบบเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง ทั้ง Router, Firewall, L3 Switch, L2 Switch และอื่นๆ, ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังเน้นความเข้าใจเพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง และนำไปต่อยอดการเรียนรู้ในระดับสูงได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับผู้เรียนที่ผ่านหลักสูตร NS01 หรือมีพื้นฐานการใช้งานเครือข่ายมาบ้างแล้ว หลักสูตรนี้จะเป็นการต่อยอดและลงรายละเอียดในเรื่องสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงการติดตั้งระบบเครือข่ายในระดับองค์กรได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ส่งผลการทำงานของระบบที่เราติดตั้ง มีประสิทธิภาพที่ดี ง่ายต่อการตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

 

(การสร้างระบบตรวจสอบสถานะ วิเคราะห์ปัญหา ทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน และค้นหาช่องโหว่ของระบบเครือข่าย)

หลักสูตรสำหรับผู้ดูแลระบบที่ต้องการตรวจสอบสถานะการทำงาน การวิเคราะห์ปัญหา การทดสอบประสิทธิภาพ และการค้นหาช่องโหว่ของระบบเครือข่ายและความผิดปกติของ Services ต่างๆ บนเครื่อง Server เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาความล่าช้าของระบบเครือข่ายเกิดจากสาเหตุใด สถานะการทำงานของ Services ที่ให้บริการมีความพร้อมหรือไม่ เครื่อง Server สำคัญจะรองรับโหลดการทำงานหนักได้มากน้อยแค่ไหน หรือมีช่องโหว่ใดบ้างที่ควรต้องหาทางป้องกัน

รวมถึงสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบและวิเคราะห์ระบบ ไปใช้ร่วมกับการกำหนดค่าการทำงานต่างๆ ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อมองภาพการทำงานของระบบและ Services ต่างๆ ได้ ก็จะทำให้รู้ว่าควรต้องกำหนดนโยบายต่างๆ เช่น สิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ การใช้งาน Application บนอินเทอร์เน็ต หรือพอร์ตใดบ้างที่ต้องปิดเพื่อป้องกันการใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

หลักสูตรนี้จะเน้นการทำ Lab เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว มองภาพการนำไปใช้งานจริงได้ง่ายด้วยโปรแกรมที่ได้มาตรฐาน เป็นที่นิยมทั่วโลก และเป็น Open Source ทั้งหมด ทำให้สามารถนำไปใช้งานส่วนตัวหรือในระดับองค์กรได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของ Software แต่อย่างใด

หลักสูตรการคอนฟิกการทำงานของ Router และ L2/L3 Switch ของ Cisco ในรุ่นที่ใช้งานในระดับองค์กร เช่น รุ่น Catalyst Series รวมถึงกำหนดค่าการทำงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น VLAN, Routing, Inter VLAN, Dynamic Route, Port Security, STP Protocol, EtherChannel และอื่นๆ โดยผ่านการพิมพ์คำสั่ง (Command Line) เพื่อกำหนดค่าและควบคุมการทำงาน (เมื่อจบหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะมีแนวทางในการทำงานและสามารถคอนฟิกอุปกรณ์เครือข่ายในระดับสูงทั้ง Router, L2/L3 Switch, ค่าความปลอดภัยต่างๆ และการทำงานที่เกี่ยวข้องบนเครือข่ายระดับ Enterprise)

 

การคอนฟิก Cisco Router และ Switch เพื่อจัดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับองค์กร

     หลักสูตรนี้จะเน้นไปที่การคอนฟิกการทำงานของ Router และ L2/L3 Switch ของ Cisco ในรุ่นที่ใช้งานในระดับองค์กร เช่น รุ่น Catalyst Series รวมถึงกำหนดค่าการทำงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น VLAN, Routing, Inter VLAN, Dynamic Route, Port Security, STP Protocol, EtherChannel และอื่นๆ โดยผ่านการพิมพ์คำสั่ง (Command Line) เพื่อคอนฟิกอุปกรณ์เครือข่ายในระดับสูงทั้ง Router, L2/L3 Switch, ค่าความปลอดภัยต่างๆ และการทำงานที่เกี่ยวข้องบนเครือข่ายระดับ Enterprise โดยเน้นการทำ LAB ด้วยโปรแกรม Packet Tracer เพื่อจำลองการทำงานอุปกรณ์เครือข่ายของ Cisco ได้อย่างใกล้เคียงกับอุปกรณ์จริงที่ทำงานในระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี

     สำหรับผู้เรียนที่ผ่านหลักสูตร NS01, NS02 หรือมีพื้นฐานการใช้งานเครือข่ายมาบ้างแล้ว หลักสูตรนี้จะเป็นการต่อยอดและลงรายละเอียดในเรื่องสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงการติดตั้งระบบเครือข่ายในระดับองค์กรได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ส่งผลการทำงานของระบบที่เราติดตั้งมีประสิทธิภาพที่ดี ง่ายต่อการตรวจสอบและแก้ไขปัญหา

หัวข้อการเรียนมีดังนี้

  1. Basic Cisco Device Configuration
  • กระบวนการบู๊ตและการเก็บค่าคอนฟิก
  • คำสั่งพื้นฐานในการคอนฟิกอุปกรณ์
  • User mode, Privileged mode และ Configuration mode
  • การเปลี่ยนชื่อ Hostname
  • การเซฟค่าคอนฟิกเก็บไว้ในเครื่องแบบถาวร
  • การกำหนดรหัสผ่านเพื่อความปลอดภัยในโหมดต่างๆ
    • รหัสผ่านสำหรับการเข้าถึงผ่านพอร์ต Console
    • รหัสผ่านสำหรับการเข้าสู่โหมด Privileged
    • รหัสผ่านสำหรับการเข้าถึง Telnet
  • ทดสอบการนำเครื่อง PC ใช้ Telnet ไปที่ Router
  • การสร้าง User และ Password สำหรับการ Login
  • กำหนดให้การเข้าถึงผ่านพอร์ต Console ต้อง Login ด้วย Username และ Password
  • คำสั่งลบค่าที่คอนฟิกไว้
  • การ Backup และ Restore ค่าคอนฟิกไปเก็บไว้ที่ TFTP Server
    • การ Backup
    • การ Restore
  • การเคลียร์ค่าคอนฟิกทั้งหมดบน Router และ Switch
  • เคลียร์ค่าคอนฟิก Router
  • เคลียร์ค่าคอนฟิก Switch
  • คอนฟิกค่าพื้นฐาน
  1. Ethernet LAN and Switch
  • เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย LAN
  • เทคโนโลยี Ethernet
  • MAC Address หมายเลขประจำอุปกรณ์เครือข่าย
  • การ์ด Network (Network Interface Card)
  • สาย UTP (Unshielded Twisted Pairs)
  • สาย STP (Shielded Twisted Pairs)
  • หัว RJ-45
  • สายใยแก้วนำแสง Fiber Optic
  • แบบ Multi Mode Fiber (MMF)
  • แบบ Single Mode Fiber (SMF)
  • Hub หรือ Repeater
  • Switch (L2 Switch)
  • Managed Switch
  • L3 Switch
  • การเข้าหัวสาย RJ-45 แบบ Cat5 และ Cat6
    • การเข้าหัว RJ-45 แบบตรง โดยจัดเรียงสีตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A
    • การเข้าหัว RJ-45 แบบตรง โดยจัดเรียงสีตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B
    • การเข้าหัว RJ-45 แบบไขว้ โดยจัดเรียงสีตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A และ TIA/EIA 568B
  • การรับส่งข้อมูลของ Switch และการทำงานของ ARP
    • ARP Request
    • ARP Reply
  • การคอนฟิก Switch
    • การสร้างและกำหนดค่าการทำงานของ VLAN
    • การสร้าง VLAN
    • การเพิ่มพอร์ตเข้า VLAN (Access Port)
    • การสร้างพอร์ต Trunk
    • คำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบค่าการทำงานของ VLAN
  • LAB : VLAN10 และ VLAN20
  • LAB : สร้างพอร์ต Trunk เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง Switch
  • การทำ Inter VLAN ด้วย Router
  • คำสั่ง Router (Inter VLAN)
  • LAB : Inter VLAN
  • การทำ IP DHCP Helper เพื่อแจก IP ข้าม VLAN
  • LAB : DHCP Helper
  • การทำ VTP (VLAN Trunking Protocol)
    • คำสั่งเปิดการทำงานในโหมด VTP Server
    • คำสั่งเปิดการทำงานในโหมด VTP Client
    • คำสั่งเปิดการทำงานในโหมด Transparent
    • คำสั่งตรวจสอบสถานะการทำงานของ VTP
  • LAB : VTP Server, Client, Transparent
  • การทำ EtherChannel
  • LAP : EtherChanel บนพอร์ต Trunk
  • Switch1 และ Switch2
  • การทำงานของ STP
    • การทำงานของ BPDU
    • คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบค่าการทำงานของ STP
    • กำหนดค่า Priority ด้วยตัวเอง
  • การคอนฟิก Switch L3
    • การสร้าง VLAN บน Switch L3
    • การเพิ่มพอร์ตเข้า VLAN (Access Port) บน Switch L3
    • การสร้างพอร์ต Trunk บน Switch L3
    • การเปลี่ยนจากพอร์ต Layer2 เป็นพอร์ต Layer3
    • การกำหนด IP ให้กับ VLAN ต่างๆ บน Switch L3 (SVI : Switch Virtual Interface)
    • การกำหนด IP ให้กับ VLAN 1 (Default VLAN) บน Switch L3 การทำ ip routing บน Switch L3
    • การทำ IP DHCP Helper เพื่อแจก IP ข้าม VLAN
  1. Routing
  • Router มีหลักการทำงานอย่างไร
  • การค้นหาเครือข่ายปลายทาง
  • การนับจำนวน Hop Count
  • Routing Protocol
  • IP Routing
  • Static Route
  • Default Route
  • Dynamic Route แบบ RIP V.2
  • Dynamic Route แบบ OSPF
  • Dynamic Route แบบ EIGRP
  1. Wireless LAN
  • รู้จักเครือข่าย Wireless LAN
  • หลักการติดต่อและรับส่งข้อมูลของเครือข่ายไร้สาย
  • มาตรฐาน 11 ที่ใช้กับเครือข่าย Wireless LAN
  • ข้อห้ามทางกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งเครือข่าย Wireless LAN
  • ข้อดี-ข้อเสียของ Wireless LAN
  • ข้อแตกต่างของการเลือกใช้ย่านความถี่ 4GHz และ 5GHz
  • อุปกรณ์บนเครือข่าย Wireless LAN
  • เสาอากาศ (Antenna)
  • เสาภายนอกและเสาภายใน
  • การกระจายสัญญาณของเสาแต่ละประเภท
  • โหมดการทำงาน Wireless LAN
  • การออกแบบเครือข่ายไร้สายและการทำ Site Survey
  • วาง Access Point ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางที่จะมาลดทอนสัญญาณ
  • หลักการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายภายนอกให้มีประสิทธภาพที่ดี
  • การจัดการความถี่ของช่องสัญญาณ Access Point
  • อาการของการใช้ช่องสัญญาณที่มีการรบกวนกัน
  • การกำหนดช่องสัญญาณเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนกัน
  • ควบคุมทิศทางการแพร่กระจายสัญญาณด้วยเสาแบบ Direction
  • การเพิ่มคุณภาพและความแรงของสัญญาณ
  • การเดินตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณ Site Survey
  • กำหนดค่าการทำงานของ Wireless Lan Controller และ Light Weight Access Point
  1. Network Security
  • รูปแบบการโจมตีและภัยคุกคามต่างๆ
  • พอร์ตอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีของ Hacker
  • Switch & Router Password
  • Secure Virtual Logins
  • Configuring SSH
  • การ Remote Login ผ่าน SSH
  • ค่า Privileged Level
  • เงื่อนไขของการกำหนดค่า Privilege Levels
  • การทำ Port Security
  • LAB : Port Security และการเปลี่ยนโหมด
  • การคอนฟิก NAT
  • การทำ Access Control List (ACL)
  • ประเภทของ ACL
    • คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าแบบ Standard ACL
    • คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าแบบ Extended ACL
    • คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าแบบ Name ACL
  • การ Login แบบ AAA (802.1x) เพื่อเข้าสู่ระบบ ให้ปลอดภัยมากขึ้น
    • ตัวอย่างคำสั่งที่ใช้เปิดการทำงานของ Radius Server และการสร้าง User Accounts
  • ปิด Service ที่ไม่จำเป็น
    • ปิด ICMP MTU Discovery
    • ปิด ICMP Redirect --- ขาออก
    • ICMP Redirects ขาเข้า
    • ปิด ICMP Mask Reply
    • ปิด ICMP Directed Broadcast
    • ปิด Small Services
    • ปิดการใช้งาน Finger
    • ปิด CDP Services
    • ปิดบริการ Proxy ARP
    • การ Disable BooTP Server
  • ป้องกันการถูก Broadcast Storm
  • ป้องกันการถูก ARP Poisoning
  • การทำ DHCP Snooping

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร เรียนแล้วจะได้อะไร?

  1. ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ขั้นตอนการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับองค์กรแบบครบวงจร ทั้งขนาดเล็กและกลางที่ได้มาตรฐานสากล และสามารถต่อยอดไปใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ได้ โดยเน้นไปที่อุปกรณ์เครือข่ายของ Cisco
  2. ผู้ที่ต้องการออกแบบระบบเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยมีความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ

พื้นฐานของผู้เรียน

      ผู้เรียนควรผ่านหลักสูตร Basic Network (NS01) หรือมีพื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาบ้างแล้ว เช่น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ TCP, กำหนดค่า IP Address ให้กับเครื่องต่างๆ ในเน็ตเวิร์กได้อย่างถูกต้อง หรือสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเน็ตเวิร์กเบื้องต้นได้

Sentinel Cyber Security and Network Visibility : (SCV-L1) 2Day

Detection, Analysis, Monitoring, Performance Testing and Security Scanning

(การสร้างระบบตรวจสอบสถานะ วิเคราะห์ปัญหา ทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน และค้นหาช่องโหว่ของระบบเครือข่าย)

     หลักสูตรสำหรับผู้ดูแลระบบที่ต้องการตรวจสอบสถานะการทำงาน การวิเคราะห์ปัญหา การทดสอบประสิทธิภาพ และการค้นหาช่องโหว่ของระบบเครือข่ายและความผิดปกติของ Services ต่างๆ บนเครื่อง Server เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาความล่าช้าของระบบเครือข่ายเกิดจากสาเหตุใด สถานะการทำงานของ Services ที่ให้บริการมีความพร้อมหรือไม่ เครื่อง Server สำคัญจะรองรับโหลดการทำงานหนักได้มากน้อยแค่ไหน หรือมีช่องโหว่ใดบ้างที่ควรต้องหาทางป้องกัน

     รวมถึงสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบและวิเคราะห์ระบบ ไปใช้ร่วมกับการกำหนดค่าการทำงานต่างๆ ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อมองภาพการทำงานของระบบและ Services ต่างๆ ได้ ก็จะทำให้รู้ว่าควรต้องกำหนดนโยบายต่างๆ เช่น สิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ การใช้งาน Application บนอินเทอร์เน็ต หรือพอร์ตใดบ้างที่ต้องปิดเพื่อป้องกันการใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

     หลักสูตรนี้จะเน้นการทำ Lab เป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว มองภาพการนำไปใช้งานจริงได้ง่ายด้วยโปรแกรมที่ได้มาตรฐาน เป็นที่นิยมทั่วโลก และเป็น Open Source ทั้งหมด ทำให้สามารถนำไปใช้งานส่วนตัวหรือในระดับองค์กรได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของ Software แต่อย่างใด

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • ผู้ที่ต้องการมองภาพการทำงานของระบบได้ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ค้นหาสาเหตุ และแก้ปัญหาระบบเครือข่ายหรือการเชื่อมต่อระบบต่างๆ ได้อย่างแม่นยำตรงจุด ลดการคาดเดา
  • ผู้ที่ต้องการตรวจสอบ เฝ้าดูสถานะการทำงานของ Services ที่สำคัญต่างๆ พร้อมระบบการแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา
  • ผู้ที่ต้องการทราบเครื่อง Server ที่ให้บริการ Services สำคัญต่างๆ เช่น Web, Database, File Service จะสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานพร้อมกันได้มากน้อยแค่ไหน
  • ผู้ต้องการตรวจสอบและทราบว่าช่องโหว่ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์ต่างๆ หรือเครื่อง Server ที่ทำงานอยู่ในระบบ มีช่องโหว่หรือถูกโจมตีจาก Hacker และไวรัสอยู่หรือไม่ เพื่อหาทางป้องกันหรือปิดช่องโหว่เหล่านั้น

พื้นฐานของผู้เรียน

  • ความรู้พื้นฐานระบบเครือข่ายเบื้องต้น เช่น กำหนด IP Address ได้ หรือรู้จักพื้นฐานการทำงานของ TCP
  • สามารถใช้งาน Windows Server หรือ Linux Server เบื้องต้นมาบ้าง

หัวข้อของหลักสูตร

  1. การทำ Network Sentinel และ Visibility
    1. Network Sentinel และ Network Visibility คืออะไร
    2. โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้
  2. การทำ Packet Analytic เพื่อตรวจสอบ, แก้ปัญหา และปรับปรุงประสิทธิภาพของ Network ด้วย Wireshark
    1. รู้จัก Wireshark
    2. Wireshark ช่วยตรวจสอบอะไรบ้าง
    3. รูปแบบการเชื่อมต่อ Wireshark ในระบบเครือข่าย
    4. การติดตั้ง Wireshark
    5. เริ่มต้นใช้งานและรู้จักส่วนประกอบสำคัญของ Wireshark
    6. หัวข้อต่างๆ ใน Packet List Pane
    7. รู้จักกับสัญลักษณ์ต่างๆ ของ Related Packets Indicator
    8. การกำหนดค่า Capture Options
    9. การ Export File สำหรับตรวจสอบข้อมูลภายหลัง
    10. การสร้าง Profile เพื่อกำหนดสภาพแวดล้อมการทำงานของโปรแกรมตามที่ต้องการ
    11. ทบทวนเรื่องของ TCP/IP Model 5 Layer และพื้นฐานการทำงานของ TCP & UDP
    12. วิเคราะห์การทำงานของ TCP และโปรโตคอลสำคัญที่เกี่ยวข้องในการติดต่อกับเครื่อง Server
    13. วิเคราะห์ปัญหา Server และโปรโตคอล HTTP ตอบกลับล่าช้า
    14. วิเคราะห์ปัญหาการเกิด TCP Retransmission จำนวนมาก
    15. วิเคราะห์ปัญหา DNS Server ตอบสนองต่อการร้องขอข้อมูลล่าช้า
    16. วิเคราะห์ปัญหาการเกิด Broadcast Storm หรือ ARP Storm
    17. การสร้าง TCP Stream Graphs แสดงภาพการเคลื่อนที่ของแพ็กเก็ตเพื่อความผิดปกติที่เกิดขึ้นของระบบเครือข่าย
  3. การทำ Network Monitoring เพื่อติดตามสถานะการทำงานของ Network และเครื่อง Server ด้วย Zabbix
    1. การทำ Network Monitoring สำคัญอย่างไร
    2. โหมดการทำงานของ Zabbix ที่ใช้ในการ Monitoring
    3. การทำงานของ SNMP
    4. การติดตั้ง Zabbix Server
    5. การเพิ่ม Linux Server เข้ามา Monitor ด้วย Zabbix Agent
    6. การเพิ่ม Linux Server เข้ามา Monitor ผ่านโปรโตคอล SNMP
    7. การเพิ่ม Windows Server เข้ามา Monitor ด้วย Zabbix Agent
    8. การเพิ่ม Windows Server เข้ามา Monitor ผ่านโปรโตคอล SNMP
    9. การตรวจสอบสถานะของแต่ละ Services ด้วยหมายเลขพอร์ต
    10. กำหนดค่าการทำงานของ Trigger เพื่อ Monitor การทำงานที่ต้องการ
    11. การเพิ่มอุปกรณ์เครือข่าย เช่น Router หรือ Switch เข้ามา Monitor ใน Zabbix
    12. การกำหนดให้ค้นหาอุปกรณ์หรือเครื่อง Server ต่างๆ เข้ามา Monitor โดยอัตโนมัติ
    13. การปรับแต่งหน้า Dashboard แสดงสถานะของเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์เครือข่าย
    14. การนำเข้า Template เพื่อ Monitor อุปกรณ์หรือสถานะการทำงานอื่นๆ เพิ่ม
    15. การสร้าง Maps เพื่อ Monitor อุปกรณ์ต่างๆ ใน Zabbix ได้อย่างสะดวก
  4. การทำ Performance & Load Testing เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง Server ด้วย JMeter
    1. การทำ Performance Testing คืออะไร
    2. หลักการออกแบบเพื่อทดสอบ
    3. Apache JMETER
    4. Component ที่สำคัญของ JMETER
    5. การติดตั้ง JMeการใช้ JMETER ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ter
    6. การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบ
  5. การทำ Vulnerability Assessment เพื่อทดสอบและค้นหาช่องโหว่ของ Network ด้วย OpenVAS
    1. ความสำคัญของการทำ Vulnerability Assessment
    2. การติดตั้ง OpenVAS
    3. การทำ Vulnerability Scanner เพื่อหาช่องโหว่
    4. การดูผลลัพธ์ช่องโหว่ที่ตรวจพบและการออก Report

 

พื้นฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยของระบบ

     หลักสูตร พื้นฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยของระบบ (Basic Network & Security : NS01) เป็นหลักสูตรที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้เริ่มต้นที่ยังไม่มีพื้นฐานมาก่อน ให้สามารถเข้าใจพื้นฐานที่สำคัญของการทำงานบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ โดยอ้างอิง OSI Model และ TCP/IP Model ซึ่งเป็นทฤษฎีสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจ จากตัวอย่างการทำงานจริงเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญในระดับเริ่มต้นที่ผู้เรียนต้องนำไปใช้งานจริง รวมถึงการทำ LAB ต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติอย่างรวดเร็ว เพื่อประยุกต์ใช้งานกับระบบหรืออุปกรณ์ยี่ห้อต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องท่องจำ

     หลักสูตรนี้ ยังได้สอดแทรกเนื้อหาด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่าย (Network Security)  และหลักการออกแบบการวางโครงสร้างที่ถูกต้องของระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่ครบถ้วน รู้จักวิเคราะห์และแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ สามารถออกแบบระบบที่มีความปลอดภัยและถูกต้องได้มาตรฐาน พร้อมนำไปต่อยอดการเรียนรู้ในขั้นสูงได้เป็นอย่างดี

หัวข้อการเรียนมีดังนี้

  1. ประวัติความเป็นมาของระบบเครือข่าย
  2. รู้จัก OSI Model และ TCP/IP Model
  3. การทำงานของโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย
  4. รู้จักรูปแบบการขนส่งข้อมูลของระบบเครือข่าย และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น
  5. รู้จักวิธีการกำหนดและเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดของระบบเครือข่าย
  6. รู้จักแต่ละ Class ของหมายเลข IP Address และการคำนวณ Subnet
  7. เรียนรู้รูปแบบการรับส่งข้อมูลภายในวง LAN และช่องโหว่ที่เกิดขึ้น
  8. สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการทำให้เครือข่าย LAN มีความปลอดภัยจากการถูกโจมตีและดักจับข้อมูล
  9. คำสั่งสำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาในระดับเบื้องต้นของระบบเครือข่าย
  10. แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย LAN เพื่อลดปัญหาความล่าช้า แก้ไขคอขวดของระบบ และกำหนดขอบเขตของปัญหาให้อยู่ในวงจำกัด
  11. การเข้าหัวสาย LAN ให้ได้ประสิทธิภาพตามมาตรฐาน TIA 568A และ 568B
  12. การคอนฟิก Router เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  13. การทำ Port Forward เพื่อให้เครื่องจากภายนอกเชื่อมต่อเข้ามาที่ Server ภายในผ่านอินเทอร์เน็ต
  14. การทำระบบเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ามาจากที่ไหนก็ได้ทั่วโลกผ่านระบบ VPN แบบ Client To Site
  15. การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายของแต่ละสาขาเข้าด้วยกันผ่านระบบ VPN แบบ Site To Site
  16. การคอนฟิก Static Route เพื่อกำหนดเส้นทางการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบกำหนดเอง
  17. การคอนฟิก Dynamic Route เพื่อให้มีการเรียนรู้เส้นทางการเชื่อมต่อเครือข่ายโดยอัตโนมัติ
  18. การทำ VLAN เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับเครือข่าย LAN แบบ Port Based VLAN

หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร เรียนแล้วจะได้อะไร?

  1. ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือเตรียมพร้อมเข้าสายงานด้าน Computer Network หรือเพื่อนำไปใช้งานร่วมกับระบบต่างๆ ที่ต้องมีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย
  2. ผู้ไม่เคยมีพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายมาก่อน หรือมีมาบ้างนิดหน่อย แต่ต้องการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติให้สามารถวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับขนาดเล็กและกลางได้อย่างมีหลักการที่ถูกต้อง
  3. ผู้ที่ต้องการทำอาชีพทางด้านระบบเครือข่ายอย่างจริงจัง เพื่อต่อยอดความรู้ในขั้นสูงได้ต่อไป
  4. ผู้ที่ต้องการวางระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการโจมตีจากแฮกเกอร์หรือไวรัสต่างๆ

 พื้นฐานของผู้เรียน

     หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเริ่มต้นของสายงานด้าน Computer Network ดังนั้นผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายใดๆ มาก่อน ก็สามารถเข้าอบรมได้ แต่ควรมีพื้นฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์มาบ้าง